Responsive image
เมนูหลัก
หน้าหลัก
เกี่ยวกับตำบล
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไป
สภาพสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
ติดต่อ อปท.
สินค้า OTOP
สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
โครงสร้างส่วนราชการ
บทบาทหน้าที่
แผนปฏิบัติราชการ
บุคลากร
ผู้บริหาร
ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
กลุ่มงานมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น
กลุ่มงานกฎหมายระเบียบและเรื่องร้องทุกข์
กลุ่มงานการเงินการบัญชีและการตรวจสอบ
กล่มุงานบริการสาธารณะท้องถิ่นและประสานงานท้องถิ่นอำเภอ
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ
ข้อมูลข่าวสาร
หนังสือราชการ สถ.จ.
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวกิจกรรม
แบบฟอร์ม
ข่าวรับสมัครโอน/ย้าย
สจุริต โปร่งใส
ITA ปี พ.ศ. 2563
ITA ปี พ.ศ.2565
ประกาศเจตนารมณ์ ความร่วมมือการขับเคลื่อน จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดคุณธรรม
ข่าวสารเครือข่าย
ข่าวประชาสัมพันธ์เครือข่าย
ข่าวกิจกรรมเครือข่าย
ข่าวรับสมัครโอน/ย้ายเครือข่าย
สินค้า OTOP เครือข่าย
การรายงานข้อมูลผ่าน e-form
การรายงานตำแหน่งประเภททั่วไปและประเภทวิชาการ
การรายงานตำแหน่งว่างสายงานผู้บริหาร
ระเบียบ
หนังสือสั่งการ สถ.
พรบ./พรก.
กฎระเบียบกระทรวง
คำสั่ง สถ.
ประกาศ ก.อบต.จ.
ประกาศ ก.ท.จ.
มติ ก.ท.จ.
มติ ก.อบต.จ.
ข้อบัญญัติ
รายรับรายจ่าย
รายงานการประชุม
แบบฟอร์มรายงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
แผนที่ดาวเทียม
คู่มือประชาชน








หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวในเขตอำเภอแม่ลาน้อย
Responsive image
สถานที่ท่องเที่ยวในเขตอำเภอแม่ลาน้อย

ถ้ำแก้วโกมล
     สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฎราชกุมาร เสด็จเยี่ยมชมถ้ำเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2536 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนามว่า “ถ้ำแก้วโกมล” มีความหมายว่า “ถ้ำแห่งแก้วอันงาม” ตั้งอยู่หมู่ที่ 14 บ้านห้วยมะไฟ ตามเส้นทางหลวงสายที่ 108 ถึงหน้าโรงพยาบาลแม่ลาน้อย เลี้ยวเข้าไปบ้านห้วยมะไฟ ถนนเป็นคอนกรีต ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ก่อนถึงถ้ำทางขึ้นค่อนข้างชัน โปรดขับรถด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะก่อนหรือหลังฝนตก ภายในถ้ำแบ่งออกเป็น 5 ห้อง ความแวววาวของผลึกแร่แคลไซต์ สีขาวใสที่เคลือบฉาบผนังภายในถ้ำแก้วโกมล หรือที่เรียกกันว่า “ถ้ำน้ำแข็ง” ถูกค้นพบโดยบังเอิญเมื่อวิศวกรสำรวจเหมืองแร่ของสำนักงานทรัพยากรธรณีแม่ฮ่องสอน ขุดเจาะอุโมงค์เข้าไปตามสายแร่ ลักษณะถ้ำมีผนังแวววาว ยิ่งยามต้องแสงไฟผลึกแร่ดูงดงามดั่งเกล็ดน้ำแข็ง ถ้ำเช่นนี้พบได้เพียง 3 แห่งในโลก คือประเทศออสเตรเลีย ประเทศจีน และประเทศไทย เขตพื้นที่บริเวณรอบถ้ำในรัศมี 200 เมตร ครอบคลุมเนื้อที่ 51 ไร่ 1 งาน 4 ตารางวา เวลาทำการ 8.30–16.30 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

หมู่บ้านละว้า
     หมู่บ้านละว้า (ลัวะ) แม่ละอูบ ตำบลห้วยห้อม เป็นหมู่บ้าน เขตติดต่อระหว่าง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่ลาน้อย และอำเภอแม่สะเรียง มีลักษณะวัฒนธรรม การสร้างที่อยู่อาศัย การแต่งกาย และอุปนิสัย แตกต่างไปจากชาวไทยภูเขาเผ่าอื่น ๆ โดยที่ตั้งอยู่บนยอดดอยสูง ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงาม การคมนาคมสะดวก จึงเป็นที่แปลกตาแปลกใจแก่นักท่องเที่ยวมากทีเดียว

บ้านกะเหรี่ยงห้วยห้อม
     ตั้งอยู่ที่ ตำบลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย ห่างจากบ้านละอูบ ประมาณ 4 กิโลเมตร ตามเส้นทางสาย 1266 ราษฎรเคร่งศาสนาและสุภาพอ่อนโยน หมู่บ้านเป็นที่ตั้งของศูนย์พัฒนาชาวเขา ราษฎรได้รับการพัฒนา ให้สามารถทำผ้าจากขนแกะ ปลูกไม้ผลเมืองหนาว และอื่น ๆ และยังเป็นหมู่บ้านตัวอย่างของชาวเขาด้วย

บ้านกะเหรี่ยงแม่สะกั๊วะ 
     ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าผาปุ้ม ห่างจากอำเภอประมาณ 13 กิโลเมตร เป็นทางขึ้นเขา บ้านเรือนแถบเชิงเขาดูแปลกตา ในฤดูแล้งจะมองเห็นภาพดอกไม้ป่า ใบไม้ เป็นสีส้มสวยงามมาก และมี แหล่งน้ำตกใกล้หมู่บ้านด้วย ราษฎรยังคงความเคยชินกับธรรมชาติและลักษณะชาวเขาดั้งเดิมไว้

น้ำตกดาวดึงส์
     เป็นน้ำตกที่สวยงามมากแห่งหนึ่ง อยู่ในเขตบ้านทุ่งรวงทอง ตำบล แม่ลาน้อย ห่างจากอำเภอไปประมาณ 6 กิโลเมตร สายน้ำไหลผ่านซอกหินลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ โดยเฉพาะในหน้าน้ำหรือฤดูฝนถ้ำแม่หุ
อยู่เขตบ้านป่าหมาก ตำบลแม่ลาน้อย ห่างจากอำเภอ ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 7 กิโลเมตร มีทางแยกจากทางหลวงหมายเลข 108 ไปตามทางเข้าเหมืองแร่ เอส.พี.ไมน์นิ่ง ถ้ำนี้ลึกประมาณ 15 เมตร ภายในประกอบด้วยหินงอกหินย้อยที่สวยงามมาก

บ่อน้ำร้อนแม่หุ
     อยู่ติดกับเหมืองแร่ เอส.พี.ไมน์นิ่ง ฝั่งห้วยแม่หุ ซึ่งเป็นบ่อน้ำร้อนที่มีความร้อนสูงต้มไข่ให้สุกได้

น้ำตกแม่นาจาง
     ลักษณะน้ำตกแม่นาจางเป็นน้ำตกที่ตกจากหน้าผาสูงมี 3 ชั้น แต่ละชั้นมีความสูงโดยประมาณ 5 เมตร บริเวณน้ำตกเป็นป่าสมบูรณ์ ติดถนนสายห้วยผึ้ง–แม่นาจาง ซึ่งเป็นถนนดินลูกรัง กว้าง 6 เมตร เกิดจากลำห้วยแม่นาจางกับลำห้วยปลากั้งไหลมาบรรจบกัน การเดินทางโดยรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ โดยใช้เส้นทางบ้านแม่โถ–แม่นาจาง ระยะทางประมาณ 67 กิโลเมตร และจะต้องเดินเข้าไปน้ำตก ประมาณ 100 เมตร
โพสเมื่อ : 15 พ.ย. 2554